ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (Arch Support) คืออะไร?

ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า เป็นบริเวณตรงกลางพื้นรองเท้าที่นูนขึ้นมารองรับส่วนโค้งเว้าของฝ่าเท้า มีคุณสมบัติช่วยกระจายน้ำหนักและแรงกดของร่างกายไปให้ทั่วเท้า ไม่ไปรวมศูนย์อยู่ที่ส้นเท้าและฝ่าเท้าด้านหน้ามากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยค้ำอุ้งเท้าเราให้เป็นสมมาตรกับแนวกระดูกสันหลัง (spinal alignment) ไม่ให้บิดเข้าด้านใน (over-pronation; collapsed arch; fallen arch) หรือที่เรียกกันว่า "เท้าแบน" อันเป็นภาวะที่นำมาซึ่งอาการเข่าบิด (knocked knees) และแนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว (spinal alignment) อันเป็นสาเหตุของอาการปวดข้อ ปวดหลังส่วนเอวเรื้อรังได้ อุ้งเท้าของแต่ละคนนั้นอาจจะมีลักษณะที่ต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ อุ้งเท้าแบน (Flat Foot) อุ้งเท้าปกติ (Normal Foot) อุ้งเท้าโก่งสุง (High-Arch Foot) ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่เหมาะสมกับอุ้งเท้าแต่ละประเภทนั้น จะมีความนูนที่แตกต่างกันไป (ดังนั้น ความเชื่อที่ว่าส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ายิ่งนูนยิ่งดีนั้น จึงเป็นความเชื่อที่ผิด) ทาง Klas & Sylph เข้าใจดีถึงจุดนี้ เราจึงมีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าให้ท่านเลือกถึง 3 ระดับ (นูนต่ำ, นูนปานกลาง, นูนสูง) โดยที่ท่านสามารถอ่านรายละเอียดและคำแนะนำเพิ่มได้ในหน้า "ประโยชน์ต่อสุขภาพ" ของรองเท้า [...]

เท้าของเราเป็นแบบไหน?

อุ้งเท้าของแต่ละคนนั้จะมีลักษณะที่ต่างกัน สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภท คือ อุ้งเท้าแบน (Flat Foot) อุ้งเท้าปกติ (Normal Foot) อุ้งเท้าโก่งสูง (High-Arch Foot) วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะดูว่าเท้าของเรานั้นเป็นประเภทไหน คือ การวางเท้าเปล่าราบกับพื้น แล้วส่องกระจกเพื่อดูส่วนโค้งเว้าใต้เท้า หรืออาจจะใช้วิธีพิมพ์รอยเท้า เช่น ทำให้อุ้งเท้าเปียก (แต่ไม่เปียกมากจนเกินไป) แล้วเหยียบลงบนกระดาษสีน้ำตาล แล้วนำรอยเท้าบนกระดาษมาเทียบกับภาพด้านล่างว่ามีลักษณะที่คล้ายกับรูปใด แน่นอนว่าท่านสามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์ด้านศาสตร์กล้ามเนื้อและกระดูก (ออร์โธปิดิกส์; orthopaedics) เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของอุ้งเท้าของท่านได้ด้วยเช่นกัน

เลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าแบบไหนดี?

รองเท้า Klas & Sylph มีความนูนของส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าอยู่ 3 ระดับ โดยที่ความนูนแต่ละระดับมีความเหมาะสมที่จะรองรับอุ้งเท้าประเภทที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไป เราจะแนะนำให้ลูกค้าเลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าตามประเภทอุ้งเท้าของลูกค้า กล่าวคือ อุ้งเท้าแบน (Flat Foot) - เหมาะกับส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่มีความนูนต่ำ อุ้งเท้าปกติ (Normal Foot) - เหมาะกับส่วนซัพพอร์อุ้งเท้าที่มีความนูนปานกลาง อุ้งเท้าโก่งสูง (High-Arch Foot) - เหมาะกับส่วนซัพพอร์อุ้งเท้าที่มีความนูนสูง อย่างไรก็ตาม คำแนะนำข้างต้นไม่ไช่คำแนะนำที่ตายตัว ที่ผ่านมาก็มีลูกค้าบางท่านที่มีอุ้งเท้าแบน แต่เลือกพื้นรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนระดับปานกลางเช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น ลูกค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับการใส่รองเท้าสุขภาพประเภทที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า หรือเคยใช้แผ่นรองรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ามาก่อนอยู่แล้ว ดังนั้น หากท่านเป็นผู้ที่มีอุ้งเท้าแบน และไม่เคยใช้แผ่นรองรองเท้าหรือรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ามาก่อน ทางเราขอแนะนำให้ท่านเริ่มใส่รองเท้า Klas & Sylph ที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำก่อนค่ะ แต่หากท่านต้องการที่จะเลือกใส่รองเท้า Klas & Sylph ที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลางจริงๆ ท่านอาจจะเกิดอาการเจ็บหรือไม่สบายเท้าเล็กน้อยในช่วงแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่อุ้งเท้าของท่านกำลังปรับตัว ดังนั้น สิ่งที่ท่านควรทำคือ เริ่มใส่รองเท้าเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน (ไม่ควรหักโหมใส่เดินทั้งวันตั้งแต่แรก) และใส่สลับกับรองเท้าปกติ (ที่ไม่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า หรือ มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำ) [...]

ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า ยิ่งมีความนูนสูงยิ่งดีใช่หรือไม่?

เนื่องจากอุ้งเท้าของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน บางท่านอุ้งเท้าแบน บางเท้าอุ้งเท้าปกติ ในขณะที่บางท่านอุ้งเท้าโก่งสูง ดังนั้น ระดับความนูนของส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่ท่านควรใส่นั้น ควรมีความสัมพันธ์กับลักษณะอุ้งเท้าของท่านเอง เช่น ถ้าอุ้งเท้าปกติ ก็ควรใส่รองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่มีความนูนระดับกลาง ไม่ใช่ระดับสูง เพื่อที่ท่านจะรู้สึกสบายเท้าได้มากที่สุด ท่านสามารถอ่านรายละเอียดและคำแนะนำเพิ่มได้ในหน้า "ประโยชน์ต่อสุขภาพ" ของรองเท้า Klas & Sylph หรือ ดูคำตอบของคำถามพบบ่อยต่อไปนี้ค่ะ เท้าของเราเป็นแบบไหน? เลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าแบบไหนดี?

ถ้าเป็นคนอุ้งเท้าแบน จะสามารถใส่รองเท้ารุ่นที่ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ามีความนูนปานกลาง หรือความนูนสูงได้หรือไม่?

ผู้ที่มีอุ้งเท้าแบนบางท่านสามารถใส่รองเท้ารุ่นที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลางได้ แต่ท่านอาจจะเกิดอาการเจ็บหรือไม่สบายเท้าเล็กน้อยในช่วงแรก เนื่องจากเป็นช่วงที่อุ้งเท้าของท่านกำลังปรับตัว ดังนั้น สิ่งที่ท่านควรทำคือ เริ่มใส่รองเท้าเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อน (ไม่ควรหักโหมใส่เดินทั้งวันตั้งแต่แรก) และใส่สลับกับรองเท้าปกติ (ที่ไม่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า หรือ มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำ) จากนั้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาในการใส่ให้นานขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้อุ้งเท้าของท่านได้ปรับตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ หากท่านไม่เคยใช้แผ่นรองรองเท้าหรือรองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ามาก่อน ทางเราขอแนะนำให้ท่านเริ่มใส่รองเท้า Klas & Sylph ที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำก่อน เพราะโดยทั่วไปการเลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่สัมพันธ์ หรือเหมาะสมกับประเภทของอุ้งเท้าตัวเองจะดีที่สุดค่ะ :) คำเตือน: เราไม่แนะนำให้ท่านใช้ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนสูง เพราะมีความเป็นไปได้สูงที่ท่านจะเกิดอาการไม่สบายเท้า หรือ เจ็บอุ้งเท้าได้ ท่านสามารถอ่านรายละเอียดและคำแนะนำเพิ่มได้ในหน้า "ประโยชน์ต่อสุขภาพ" ของรองเท้า Klas & Sylph หรือ ดูคำตอบของคำถามพบบ่อยต่อไปนี้ค่ะ เลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าแบบไหนดี? ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า ยิ่งมีความนูนสูงยิ่งดีใช่หรือไม่?

ถ้าเป็นคนอุ้งเท้าปกติ จะสามารถใส่รองเท้ารุ่นที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำ หรือความนูนสูงได้หรือไม่?

ผู้ที่มีอุ้งเท้าปกตินั้นสามารถใส่ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าได้ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำ ความนูนปานกลาง หรือความนูนสูง แล้วแต่ว่าชอบและรู้สึกสบายเท้ากับความนูนแบบไหนเป็นพิเศษค่ะ :)

ถ้าเป็นคนมีอุ้งเท้าโก่งสูง จะสามารถใส่รองเท้ารุ่นที่ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้ามีความนูนต่ำ หรือความนูนปานกลางได้หรือไม่?

โดยทั่วไปแล้ว ท่านที่มีอุ้งเท้าโก่งสูงควรใช้รองเท้า Klas & Sylph ที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนสูงจะดีที่สุดค่ะ :) แต่หากอยากชอบรุ่นที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนระดับกลาง ก็สามารถใส่ได้เหมือนกัน แต่อาจจะสบายสู้แบบที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนสูงไม่ได้ค่ะ แต่เราไม่แนะนำให้ใส่รุ่นที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำนะคะ เพราะความนูนของส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าจะต่ำเกินไปจนไม่สามารถช่วยการกระจายน้ำหนักและแรงกดของร่างกายเพื่อลดอาการปวดฝ่าเท้า ปวดส้นเท้า ตามบทบาทที่ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าควรจะเป็นได้ หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถอ่านรายละเอียดได้ในหน้า "ประโยชน์ต่อสุขภาพ" ของรองเท้า Klas & Sylph และ/หรือ ดูคำตอบของคำถามพบบ่อยต่อไปนี้ค่ะ เลือกส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าแบบไหนดี?

รองเท้า Klas & Sylph เหมาะสมแก่ผู้ที่มีเท้าบิดเข้าด้านใน (over pronation) หรือไม่?

อาการที่มักพบในผู้ที่มีภาวะเท้าบิดเข้าด้านใน (over pronation; collapsed arch) หรือมีอาการ "เท้าแบน" ก็คือ เมื่อยขาง่าย เจ็บที่อุ้งเท้า อุ้งเท้าบวม เคลื่อนไหวเท้าลำบาก ปวดหลังและขา และสาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากรูปทรงของเท้าที่ไม่เป็นสมมาตรกับแนวกระดูกสันหลัง ทำให้ข้อกระดูกและกล้ามเนื้อบางส่วนต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินกว่าที่ควรตามธรรมชาติ และเนื่องจากโครงสร้างและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและกระดูกร่างกายมีการเชื่อมต่อกันหมด (kinetic chain) หากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือปรับให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติ ก็จะทำให้เกิดภาวะข้อเข่าบิด (knocked knees)  และแนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว (spinal misalignment) และนำมาซึ่งอาการปวดหลังและปวดข้อต่าง ๆ แบบเรื้อรังได้ในที่สุด วิธีการป้องกัน หรือบรรเทาก็คือ การใส่รองเท้าที่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าจะช่วยปรับอุ้งเท้าให้อยู่ในอยู่ในภาวะที่เหมาะสม หรือพูดอีกในก็คือจะช่วยค้ำอุ้งเท้าไม่ให้อ่อนแรงจนดูเหมือนบิดเข้าด้านในนั่นเอง และแน่นอนว่า รองเท้า Klas & Sylph ของเราถูกผลิตมาเพื่อการนี้อยู่แล้ว ฉะนั้นจึงเหมาะสมแก่ผู้ที่มีอาการเท้าบิดเข้าด้านในแน่นอนค่ะ :)

ใส่รองเท้า Klas & Sylph แล้วดีกว่าการใช้แผ่นรองพื้นรองเท้า (shoe insert) อย่างไร?

แผ่นรองพื้นรองเท้าที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไป มีข้อดีคือ สามารถใช้กับรองเท้าที่ท่านมีอยู่ได้ ทำให้รองเท้าปกติทั่วไปมีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เท้าของท่านรู้สึกสบายมากขึ้น แต่การจะหาแผ่นรองพื้นรองเท้าที่พอดีกับสัดส่วนของรองเท้าที่ท่านมีอยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และสามารถช่วยได้เพียงการซัพพอร์ตอุ้งเท้า แต่ไม่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความนุ่มของพื้นรองเท้าได้เลย อีกทั้งแผ่นรองพื้นรองเท้าบางยี่ห้อยังมีราคาที่สูงมาก พื้นรองเท้า Klas & Sylph ทุกคู่นั้นมีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า และฮีลคัพ ที่เหมาะสมกับสรีระเท้า ประกอบกับพื้นรองเท้ามีความนุ่มที่แน่นกระชับ มีความยืดหยุ่นสูง และมีความสามารถในการดูดซับแรงกระแทกจากการเดินได้อย่างดีเยี่ยม รองเท้า Klas & Sylph ได้รวมคุณสมบัติเพื่อสุขภาพเท้าที่ดีไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ในขณะเดียวกันก็ได้วางจำหน่ายในราคาคนส่วนใหญ่เข้าถึง เป็นราคาที่อาจจะต่ำกว่าแผ่นรองพื้นรองเท้าบางยี่ห้อด้วยซ้ำไป

รองเท้าสุขภาพ Klas & Sylph แตกต่างจากรองเท้าสุขภาพยี่ห้ออื่นๆอย่างไร?

คำว่า "รองเท้าสุขภาพ" จริงๆสามารถนิยามได้หลายแบบ และที่ผ่านมาก็มีผู้เล่นในตลาดมากมาย ที่นำเสนอสินค้าตัวเองว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ ซึ่งบ้างก็เป็นจริงตามที่พูด บ้างก็เป็นแค่การกล่าวอ้างลอยๆ ดังนั้น เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รองเท้าสุขภาพ ในตลาดปัจจุบัน มีแบบไหนบ้าง ในฐานะผู้บริโภค หากใครมานำเสนอขายรองเท้าสุขภาพให้แก่ท่าน คำถามที่ท่านควรจะถามก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง คือ "รองเท้าสุขภาพยี่ห้อนี้ดีต่อสุขภาพอย่างไร?" คำตอบที่หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ คือ "เพราะใส่สบาย" .... คำตอบแบบนี้ถือว่าใช้ไม่ได้นะคะ เพราะถึงแม้ว่ารองเท้าสุขภาพจะใส่สบาย แต่รองเท้าที่ใส่สบาย ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นรองเท้าสุขภาพนะคะ หากท่านได้รับคำตอบแบบนี้ ให้สรุปไว้ก่อนเลยว่า รองเท้าที่ตัวแทนขายคนนั้นพยายามเสนอขายให้กับท่านนั้น เป็นแค่รองเท้าทั่วไป ไม่ใช่รองเท้าสุขภาพค่ะ คำตอบที่ดีขึ้นมาหน่อย ก็คือ "เป็นรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้าง" ซึ่งเป็นรองเท้าที่เหมาะกับผู้ที่มีกระดูกเท้าโปน (bunion) อันเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงมาเป็นประจำเป็นเวลานานหลายปี รองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ที่มีกระดูกเท้าโปนก็คือรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้าง เพราะจะไม่บีบเท้าบริเวณที่กระดูกโปนออกมาค่ะ อย่างไรก็ตาม รองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้างอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณสมบัติอื่นๆมาเสริม ก็ไม่สามารถตอบโจทย์เพื่อสุขภาพเท้าที่ดีอื่นๆได้ จึงอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมกับผู้ที่ไม่ได้มีกระดูกเท้าโปนเท่าไหร่ค่ะ รองเท้าสุขภาพประเภทถัดไปก็คือ "รองเท้ากีฬา" แน่นอนว่า เราใส่รองเท้ากีฬาเพื่อออกกำลังกาย และการออกกำลังกายก็ถือเป็นกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นรองเท้าที่มีความสามารถในการรองรับแรงกระแทกสูง (high shock absorption) รองเท้ากีฬาจึงจัดเป็นรองเท้าสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่จะมีข้อจำกัดบ้างก็ตรงที่ รองเท้ากีฬาส่วนใหญ่จะไม่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า และ [...]

หัวข้อ

Go to Top