คำว่า “รองเท้าสุขภาพ” จริงๆสามารถนิยามได้หลายแบบ และที่ผ่านมาก็มีผู้เล่นในตลาดมากมาย ที่นำเสนอสินค้าตัวเองว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ ซึ่งบ้างก็เป็นจริงตามที่พูด บ้างก็เป็นแค่การกล่าวอ้างลอยๆ ดังนั้น เราจึงควรมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า รองเท้าสุขภาพ ในตลาดปัจจุบัน มีแบบไหนบ้าง

ในฐานะผู้บริโภค หากใครมานำเสนอขายรองเท้าสุขภาพให้แก่ท่าน คำถามที่ท่านควรจะถามก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง คือ “รองเท้าสุขภาพยี่ห้อนี้ดีต่อสุขภาพอย่างไร?”

คำตอบที่หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ คือ “เพราะใส่สบาย” …. คำตอบแบบนี้ถือว่าใช้ไม่ได้นะคะ เพราะถึงแม้ว่ารองเท้าสุขภาพจะใส่สบาย แต่รองเท้าที่ใส่สบาย ก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นรองเท้าสุขภาพนะคะ หากท่านได้รับคำตอบแบบนี้ ให้สรุปไว้ก่อนเลยว่า รองเท้าที่ตัวแทนขายคนนั้นพยายามเสนอขายให้กับท่านนั้น เป็นแค่รองเท้าทั่วไป ไม่ใช่รองเท้าสุขภาพค่ะ

คำตอบที่ดีขึ้นมาหน่อย ก็คือ “เป็นรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้าง” ซึ่งเป็นรองเท้าที่เหมาะกับผู้ที่มีกระดูกเท้าโปน (bunion) อันเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงมาเป็นประจำเป็นเวลานานหลายปี รองเท้าที่เหมาะสมกับผู้ที่มีกระดูกเท้าโปนก็คือรองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้าง เพราะจะไม่บีบเท้าบริเวณที่กระดูกโปนออกมาค่ะ

อย่างไรก็ตาม รองเท้าที่มีหน้าเท้ากว้างอย่างเดียว แต่ไม่มีคุณสมบัติอื่นๆมาเสริม ก็ไม่สามารถตอบโจทย์เพื่อสุขภาพเท้าที่ดีอื่นๆได้ จึงอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมกับผู้ที่ไม่ได้มีกระดูกเท้าโปนเท่าไหร่ค่ะ

รองเท้าสุขภาพประเภทถัดไปก็คือ “รองเท้ากีฬา” แน่นอนว่า เราใส่รองเท้ากีฬาเพื่อออกกำลังกาย และการออกกำลังกายก็ถือเป็นกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว อีกทั้งยังเป็นรองเท้าที่มีความสามารถในการรองรับแรงกระแทกสูง (high shock absorption) รองเท้ากีฬาจึงจัดเป็นรองเท้าสุขภาพอย่างไม่ต้องสงสัย หากแต่จะมีข้อจำกัดบ้างก็ตรงที่ รองเท้ากีฬาส่วนใหญ่จะไม่มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า และ บางรุ่นบางยี่ห้อก็อาจจะมีขนาดใหญ่เทอะทะ ไม่เหมาะกับการใส่ในบางโอกาสค่ะ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีรองเท้าประเภทใหม่ที่เรียกว่า “รองเท้าโทนนิ่ง” (toning shoes) ที่ถูกนำเสนอว่า แค่ใช้ใส่เดิน ก็สามารถช่วยให้ขาเรียวขึ้น บั้นท้ายตึงขึ้นได้ รองเท้าโทนนิ่งบางยี่ห้อขายดีมากโดยเฉพาะในบ้านเรา แต่สุดท้ายรองเท้าโทนนิ่งเหล่านี้ก็โดนดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action lawsuit) ในประเทศอเมริกา ด้วยข้อหาโฆษณาเกินจริง และก็บริษัทเหล่านี้ก็ตกลงยอมความกันแทบจะทุกเจ้า เรื่องจริงก็คือ ยังรองเท้าประเภทนี้ยังไม่มีบทวิจัยอิสระใดๆที่ให้การรับรองสรรพคุณเพื่อการออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาและบั้นท้ายตามที่บริษัทเหล่านี้กล่าวอ้างเลย

แล้วรองเท้า Klas & Sylph เป็นรองเท้าประเภทไหนล่ะ? รองเท้า Klas & Sylph ไม่ถูกจัดอยู่ในหมวดรองเท้าใดๆตามที่เกริ่นมาข้างต้นเลย หากแต่เป็นรองเท้าสุขภาพประเภทออโธปิดิกส์ (orthopaedics) หรือก็คือรองเท้าสุขภาพที่อิงศาสตร์กล้ามเนื้อและกระดูก อันเป็นศาสตร์ที่มีมานานกว่า 50 ปีแล้ว

รองเท้าสุขภาพประเภทออโธปิดิกส์มีลักษณะเป็นอย่างไร? หลักๆเลยคือต้องมีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า

รองเท้าสุขภาพมักถูกมองว่าเป็นสินค้าของผู้สูงอายุ