หากคุณมีอาการปวดเท้า ปวดส้นเท้า ปวดรองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย หรือปวดหลัง ปวดเอวเป็นประจำ…
ไม่ต้องแปลกใจไปค่ะ เพราะมีคนมากมายที่มีปัญหาเดียวกันกับคุณ แต่ข่าวดีก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องทนเจ็บปวดกับอาการเหล่านี้อีกต่อไป คุณสามารถบรรเทาหรือรักษาอาการเหล่านี้ให้หายไปได้ เพียงแค่คุณมีรองเท้าสุขภาพดี ๆ สักคู่ และรู้วิธีเลือกรองเท้าสุขภาพให้ถูกกับสุขลักษณะเท้าของคุณเอง
“รองเท้าสุขภาพ” ทุกวันนี้มีให้เลือกซื้อกันอยู่หลายแบรนด์ บ้างก็เป็นรองเท้าสุขภาพจริง ๆ ตามหลักวิทยาศาสตร์ บ้างก็เป็นแค่รองเท้าธรรมดาที่ผู้ขายโฆษณาชวนเชื่อว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ เราในฐานะผู้บริโภคก็ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนว่า รองเท้าสุขภาพที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เราจะได้ไม่โดนหลอกให้เสียเงินซื้อรองเท้าราคาแพง ๆ โดยที่จริง ๆ แล้วอาจจะเป็นแค่รองเท้าธรรมดาที่ไม่มีสรรพคุณด้านสุขภาพใด ๆ เลย
แล้ว… รองเท้าสุขภาพที่ดี ควรมีคุณสมบัติอะไรบ้าง?
มีความหนาที่พอเหมาะ + มีความนุ่มที่แน่นกระชับ
พื้นรองเท้าที่ดีควรมีทั้งความนุ่มสบายและความมั่นคงในการเดิน หรือก็คือไม่นุ่มเกินไปจนใส่แล้วยวบแบน แต่ควรคงรูปอยู่ได้ สามารถคืนตัว/ฟูกลับขึ้นมาแม้จะรองรับน้ำหนักตัวเรามาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม ในขณะเดียวกัน พื้นรองเท้าก็ไม่ควรแข็งกระด้างเกินไปจนทำให้เจ็บฝ่าเท้าไม่ต่างกับการเดินเท้าเปล่าบนพื้นคอนกรีต พื้นรองเท้าที่มีความหนาที่พอเหมาะจะช่วยรองรับแรงกระแทก (shock absorption) และลดแรงสะเทือนที่สะท้อนกลับขึ้นมาตามแนวกระดูกสันหลังได้ดี โดยเฉพาะเวลาที่เราเดินบนพื้นแข็ง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการถนอมกระดูกข้อต่อ เช่น ข้อเท้า และ ข้อเข่า ในระยะยาวแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้แนวกระดูกสันหลัง (spinal alignment) บิดเบี้ยว อันเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ได้อีกด้วย
มีความหนาที่พอเหมาะ + มีความนุ่มที่แน่นกระชับ
พื้นรองเท้าที่ดีควรมีทั้งความนุ่มสบายและความมั่นคงในการเดิน หรือก็คือไม่นุ่มเกินไปจนใส่แล้วยวบแบน แต่ควรคงรูปอยู่ได้ สามารถคืนตัว/ฟูกลับขึ้นมาแม้จะรองรับน้ำหนักตัวเรามาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม ในขณะเดียวกัน พื้นรองเท้าก็ไม่ควรแข็งกระด้างเกินไปจนทำให้เจ็บฝ่าเท้าไม่ต่างกับการเดินเท้าเปล่าบนพื้นคอนกรีต พื้นรองเท้าที่มีความหนาที่พอเหมาะจะช่วยรองรับแรงกระแทก (shock absorption) และลดแรงสะเทือนที่สะท้อนกลับขึ้นมาตามแนวกระดูกสันหลังได้ดี โดยเฉพาะเวลาที่เราเดินบนพื้นแข็ง ๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการถนอมกระดูกข้อต่อ เช่น ข้อเท้า และ ข้อเข่า ในระยะยาวแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้แนวกระดูกสันหลัง (spinal alignment) บิดเบี้ยว อันเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ได้อีกด้วย
มีความยืดหยุ่นสูง
พื้นรองเท้าที่ดีควรมีความยืดหยุ่นสูงโดยเฉพาะบริเวณนิ้วเท้าที่ต้องมีการเคลื่อนไหวมากที่สุด หากนิ้วเท้าของเราสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเป็นธรรมชาติ กล้ามเนื้อบริเวณนิ้วเท้าและเอ็นร้อยหวายของเราก็จะไม่ต้องทำงานหนักหรือเกร็งมากจนเกินไป จึงลดโอกาสที่จะกล้ามเนื้อบริเวณนี้จะปวดหรืออักเสบ โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องเดินเป็นเวลานาน ๆ ได้เป็นอย่างมาก
มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า
(arch support)
ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าเป็นคุณสมบัติที่ดีตามหลักออร์โธปิดิกส์ (orthopedics; orthopaedics; ศาสตร์กล้ามเนื้อและกระดูก) อันเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ตะวันตกอย่างเป็นทางการมานานกว่า 50 ปีแล้ว มีคุณสมบัติช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไปทั่วฝ่าเท้า (จากปกติที่น้ำหนักจะมารวมศูนย์อยู่บริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า) ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปวดส้นเท้า หรือ รองช้ำได้ดีมาก อีกทั้งยังช่วยค้ำอุ้งเท้าป้องกันไม่ให้เท้าบิดเข้าด้านใน (over-pronation; collapsed arch; fallen arch) อันเป็นภาวะที่จะทำให้แนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว และนำมาซึ่งอาการปวดข้อต่าง ๆ เช่น ปวดข้อเข่า และ ปวดหลังส่วนเอว ในที่สุด
มีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า
(arch support)
ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าเป็นคุณสมบัติที่ดีตามหลักออร์โธปิดิกส์ (orthopedics; orthopaedics; ศาสตร์กล้ามเนื้อและกระดูก) อันเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากวงการแพทย์ตะวันตกอย่างเป็นทางการมานานกว่า 50 ปีแล้ว มีคุณสมบัติช่วยกระจายแรงกดของร่างกายไปทั่วฝ่าเท้า (จากปกติที่น้ำหนักจะมารวมศูนย์อยู่บริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า) ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปวดส้นเท้า หรือ รองช้ำได้ดีมาก อีกทั้งยังช่วยค้ำอุ้งเท้าป้องกันไม่ให้เท้าบิดเข้าด้านใน (over-pronation; collapsed arch; fallen arch) อันเป็นภาวะที่จะทำให้แนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยว และนำมาซึ่งอาการปวดข้อต่าง ๆ เช่น ปวดข้อเข่า และ ปวดหลังส่วนเอว ในที่สุด
“ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า” ที่ดีควรเป็นอย่างไร?
ปัจจุบันมีรองเท้าแฟชั่นหลายแบรนด์ (ทั้งแบรนด์รองเท้าแตะและรองเท้าคัทชู) ที่มีการโฆษณาชวนเชื่อว่ามีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า (arch support) แต่ในความเป็นจริงคือ เป็นแค่การใช้วัสดุประเภทฟองน้ำหรือโฟมนุ่มมาทำให้เป็นรูปทรงคล้ายส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้า แต่วัสดุประเภทนี้ไม่มีความแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักตัวของเราได้ เวลาเหยียบลงบนโฟม/ฟองน้ำที่มีแค่รูปทรงคล้ายส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าแบบนี้ ความนูนที่ควรจะรองรับอุ้งเท้าก็จะแบนราบเรียบ ไม่มีการซัพพอร์ตอุ้งเท้าหรือค้ำเท้าเราให้คงรูปเป็นสมมาตรกับแนวกระดูกสันหลังแต่อย่างใด “ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าที่ดี” จึงควรมีลักษณะดังต่อไปนี้อย่างครบถ้วน
พื้นรองเท้าบริเวณหน้าเท้ากว้าง
ด้านหน้าของพื้นรองเท้า (toe box) ควรมีความกว้างพอสมควร แน่นอนว่ารองเท้าหน้ากว้างอาจไม่ได้ดูสวยเพรียวเหมือนรองเท้าแฟชั่น แต่ข้อดีก็คือ เท้าของเราจะไม่ถูกบีบ และภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (bunions) จะไม่แย่ไปกว่าเดิม ทั้งนี้ แม้ว่าภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ แต่อาการนี้จะเป็นหนักขึ้นหากมีการใส่รองเท้าหน้าแคบ เช่น รองเท้าคัทชู รองเท้าส้นสูงหัวแหลม หรือรองเท้าอื่น ๆ ที่มีหน้าเท้าแคบหรือหัวแหลม
พื้นรองเท้าบริเวณหน้าเท้ากว้าง
ด้านหน้าของพื้นรองเท้า (toe box) ควรมีความกว้างพอสมควร แน่นอนว่ารองเท้าหน้ากว้างอาจไม่ได้ดูสวยเพรียวเหมือนรองเท้าแฟชั่น แต่ข้อดีก็คือ เท้าของเราจะไม่ถูกบีบ และภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียง (bunions) จะไม่แย่ไปกว่าเดิม ทั้งนี้ แม้ว่าภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเอียงจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนใหญ่ แต่อาการนี้จะเป็นหนักขึ้นหากมีการใส่รองเท้าหน้าแคบ เช่น รองเท้าคัทชู รองเท้าส้นสูงหัวแหลม หรือรองเท้าอื่น ๆ ที่มีหน้าเท้าแคบหรือหัวแหลม
ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในการผลิต
วัสดุที่ใช้ทำส่วนของรองเท้าที่มีการสัมผัสเสียดสีกับเท้าของเรา เช่น วัสดุที่ใช้ทำซับใน (upper lining) และ วัสดุที่ห่อหุ้มพื้นรองเท้า (sock lining) ควรจะเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อผิว เสียดสีกับผิวหนังแล้วไม่ทำให้เกิดอาการพอง หรือทำให้ผิวถลอกเป็นแผล นอกจากนี้ควรมีความคงทน ไม่ขาดง่าย
ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพในการผลิต
วัสดุที่ใช้ทำส่วนของรองเท้าที่มีการสัมผัสเสียดสีกับเท้าของเรา เช่น วัสดุที่ใช้ทำซับใน (upper lining) และ วัสดุที่ห่อหุ้มพื้นรองเท้า (sock lining) ควรจะเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อผิว เสียดสีกับผิวหนังแล้วไม่ทำให้เกิดอาการพอง หรือทำให้ผิวถลอกเป็นแผล นอกจากนี้ควรมีความคงทน ไม่ขาดง่าย
ที่สำคัญ… รองเท้าสุขภาพสมัยนี้ ต้องมีดีไซน์ที่ทันสมัย ไม่เชย!
แต่ไหนแต่ไรมา เรามักเชื่อกันว่า รองเท้าสุขภาพเป็นรองเท้าของผู้สูงอายุ เพราะไม่ว่าจะเป็นรูปทรง รายละเอียด หรือ สี ที่เห็นกันเป็นประจำ ก็ดูเหมือนจะออกแบบมาให้ผู้สูงอายุใส่จริง ๆ มันเชยจนเราไม่อยากใส่ และผู้สูงอายุหลาย ๆ คนก็มองว่าแบบรองเท้าสุขภาพที่เห็นกันอยู่บ่อย ๆ มันเชยเช่นกัน ไม่ได้ชอบแต่ก็ต้องทนใส่ ๆ กันไปเพราะไม่มีดีไซน์สวย ๆ ให้เลือกซื้อ
ข่าวดีก็คือ… รองเท้าสุขภาพก็สามารถทำให้สวยมีสไตล์ได้!
แบรนด์รองเท้าสุขภาพ Klas & Sylph (คลาส-แอนด์-ซิลฟ์) เป็นแบรนด์น้องใหม่ที่ตั้งใจฉีกภาพลักษณ์รองเท้าสุขภาพเชย ๆ ให้มาเป็นรองเท้าสุขภาพที่สวยงาม มีสไตล์โดดเด่น มีคุณสมบัติรองเท้าสุขภาพตามหลักออร์โธปิดิกส์ 100% และสามารถใส่ออกไปเดินนอกบ้านได้โดยไม่ต้องอายใคร และที่สำคัญคือต้องมีคุณภาพดีเป็นที่ยอมรับระดับโลก
นอกจากคุณสมบัติด้านสุขภาพและดีไซน์รองเท้าที่สวยงามแล้ว Klas & Sylph ยังพิถีพิถันกับการเลือกใช้วัตถุดิบอีกด้วย โดยจะเน้นใช้หนังวัวแท้คุณภาพดี และไมโครไฟเบอร์ที่มีความคงทนสูง มีความยืดหยุ่น และมีสัมผัสที่นุ่มละมุนต่อผิว (ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุที่เราใช้ในการผลิตรองเท้า Klas & Sylph ได้ ที่นี่)
อีกทั้งยังใช้ Polyurethane เกรดพรีเมี่ยมเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตพื้นรองเท้า พื้นรองเท้าของ Klas & Sylph จึงมีความนุ่มสบายที่แน่นกระชับ สามารถรองรับแรงกระแทกจากการเดินได้ดีเป็นพิเศษ น้ำหนักเบา และมีส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าในตัว (built-in arch support) รองเท้า Klas & Sylph จึงช่วยลดอาการปวดส้นเท้า/รองช้ำ ปวดฝ่าเท้า และคงรูปเท้าไม่ให้บิดเข้าด้านใน จึงช่วยลดอาการปวดหลังส่วนเอวอันเกิดจากภาวะแนวกระดูกสันหลังบิดเบี้ยวได้อย่างดีเยี่ยม (ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นรองเท้า Klas & Sylph ได้ ที่นี่)
Polyurethane หรือโพลียูรีเทน เป็นวัตถุดิบนำเข้าจากเยอรมันและอังกฤษ เป็นวัตถุดิบที่มีความคงทนและความยืดหยุ่นสูง มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน น้ำหนักเบา และที่สำคัญที่สุดคือ มีความนุ่มที่แน่นกระชับ และมีคุณสมบัติ “คืนตัว” (high resiliency) อันเป็นคุณสมบัติที่ทำให้พื้นรองเท้าของ Klas & Sylph สามารถฟูคืนตัวกลับขึ้นมาเหมือนเดิม แม้จะมีการรับน้ำหนักตัวของเรามานานอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม จึงช่วยคงรูปเท้าของเราให้เป็นสมมาตรกับแนวกระดูกสันหลัง และรักษาสมดุลในการเดินของเราได้เป็นอย่างดี
Klas & Sylph มีรองเท้าสุขภาพให้เลือกใส่หลายประเภท ดังนี้
1) รองเท้าเพื่อแตะสุขภาพ
มีความหนาและความนูนของส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าให้เลือก 3 ระดับ คือ
พื้นบาง + ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนต่ำ (low arch support)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีเท้าแบน (หรือเกือบแบน) ที่ต้องการปรับเท้าไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ/หรือ เป็นผู้ที่ไม่เคยใส่รองเท้าสุขภาพตามหลักออร์โธปิดิกส์มาก่อน
พื้นหนาปานกลาง + ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลาง (medium arch support)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอุ้งเท้าปกติ แต่มีอาการปวดเท้า ปวดส้นเท้า ปวดหลังส่วนเอวอันเนื่องมาจากการยืนหรือเดินนาน ๆ และ/หรือ ต้องการรักษาไว้ซึ่งสุขภาพเท้าและหลังที่ดี
พื้นหนา + ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลาง (medium arch support)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอุ้งเท้าปกติ แต่มีอาการปวดเท้า ปวดส้นเท้า ปวดหลังส่วนเอวอันเนื่องมาจากการยืนหรือเดินนาน ๆ และต้องการรองเท้าที่สามารถรองรับแรงกระแทกได้ดีเป็นพิเศษ
พื้นหนา + ส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนสูง (high arch support)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอุ้งเท้าโก่งสูง
หมายเหตุ: พื้นรองเท้ารุ่นนี้จะรับผลิตตามออเดอร์ (pre-order) เท่านั้น
2) รองเท้าคัทชูเพื่อสุขภาพ
มาพร้อมกับส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลาง (medium arch support) พื้นรองเท้าหนาปานกลาง เหมาะสำหรับใส่ไปทำงาน
2) รองเท้าคัทชูเพื่อสุขภาพ
มาพร้อมกับส่วนซัพพอร์ตอุ้งเท้าความนูนปานกลาง (medium arch support) พื้นรองเท้าหนาปานกลาง
3) รองเท้าส้นแบน / รองเท้าส้นเตี้ย (ballet flats) เพื่อสุขภาพ
เป็นรองเท้าประเภทเดียวที่เราพูดได้ไม่เต็มปากว่าเป็นรองเท้าสุขภาพ 100% และเป็นรองเท้า Klas & Sylph รุ่นเดียวที่พื้นรองเท้าไม่ได้ทำจาก polyurethane
ด้วยธรรมชาติของรองเท้าประเภทนี้ที่มีพื้นที่บางเกินกว่าที่จะทำพื้นรองเท้าด้วย polyurethane ออกมาได้ จึงทำให้รองเท้ารุ่นนี้มีความสามารถรองรับแรงกระแทกไม่สูงนัก ความสบายในการสวมใส่และประโยชน์เพื่อสุขภาพเท้าและหลังจึงดีเทียบกับรองเท้า Klas & Sylph ประเภทอื่น ๆ ไม่ได้ แม้ว่าจะสวมใส่สบายกว่ารองเท้าทรงบัลเล่ต์แบรนด์อื่น ๆ ที่จำหน่ายในท้องตลาดก็ตาม